เมนู

ภิกษุ คบหากัลยาณมิตร ยินดีในอสุภภาวนา เช่นกับพระ
ติสสเถระ ผู้บำเพ็ญอสุภกรรมฐาน ย่อมละกามฉันท์ได้ ด้วย
อสัปปายกถา อันอาศัยอสุภ 10 ในการยืนและนั่งเป็นต้นก็ละกามฉันท์
ได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6 ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7



ในสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เมตตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ เมตตาที่แผ่ประโยชน์เกื้อกูล
ไปในสัตว์ทุกจำพวก ก็เพราะเหตุที่จิตประกอบด้วยเมตตานั้น ย่อม
หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น ฉะนั้น เมตตานั้น
ท่านจ่งเรียกว่า เจโตวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง ว่าโดยพิเศษ เมตตานั้น
พึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องกลุ้มรุมคือ
พยาบาททั้งหมด. ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า เมตตาในคำว่า เมตฺตาเจโต-
วิมุตฺติ นั้น แม้ปฏิปทาเป็นส่วนเบื้องต้นก็ใช้ได้. แต่เพราะท่านกล่าวว่า
เจโตวิมุตติ ในที่นี้ท่านประสงค์เอาเมตตา เฉพาะที่เป็นอัปปนา โดย
อำนาจติกฌานและจตุกกฌานเท่านั้น. บทว่า โยนิโส มนสิกาโร
ความว่า มนสิการอยู่ ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ด้วยมนสิการ โดย
อุบายซึ่งมีลักษณะดังกล่าวแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละพยาบาท คือการ
เล่าเรียนเมตตานิมิต การประกอบเนือง ๆ ในเมตตาภาวนา การพิจารณา
ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน ความเป็นผู้มากไปด้วยการพิจารณา ความ
เป็นผู้มีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำแต่ที่เป็นสัปปายะ. จริงอยู่
เมื่อภิกษุถือเมตตาด้วยการแผ่ไป โดยเจาะจงและไม่เจาะจง ก็ย่อม
ละพยาบาทได้ เมื่อพิจารณาถึงความที่ตนและบุคคลอื่น เป็นผู้มีกรรม
เป็นของ ๆ ตน อย่างนี้ว่า ท่านโกรธเขาแล้วจักทำอะไรเขา จักทำศีล
เป็นต้นของเขาให้พินาศได้หรือ ท่านมาด้วยกรรมของตน แล้วก็ไป
ด้วยกรรมของตนเท่านั้นมิใช่หรือ ชื่อว่า การโกรธผู้อื่น ย่อมเป็น
เหมือน จับถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวไฟ ซี่เหล็กที่ร้อน และคูถ
เป็นต้น แล้วประสงค์ประหารผู้อื่น คนผู้โกรธต่อท่านแม้คนนี้ จัก
กระทำอะไรได้ จักอาจทำศีลเป็นต้น ของท่านให้พินาศหรือ เขามา
ด้วยกรรมของตนแล้วจักไปด้วยกรรมของตนเท่านั้น ความโกรธนั้น
จักตกบนกระหม่อมของนั้นเท่านั้น เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ ที่
ไม่มีอะไรปิดกั้นไว้ และเหมือนกำธุลีซัดไปทวนลมฉะนั้น ดังนี้ก็ดี
ผู้พิจารณาความที่เขาทั้ง 2 เป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน แล้วตั้ง
อยู่ในการพิจารณาก็ดี คบหากัลยาณมิตร ผู้ยินดีในการเจริญภาวนา
เหมือนกับพระอัสสคุตตเถระก็ดี ย่อมละพยาบาทได้ ย่อมละพยาบาท
ได้แม้ด้วยการกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ ที่อิงเมตา ทั้งในการยืน
และนั่ง เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อม
เป็นไปเพื่อละพยาบาท. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นี้
และในที่อื่นจากนี้นั่นแล. แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเพียงที่แปลกกันเท่านั้นแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ความเพียรครั้งแรกชื่อว่า อารัพภธาตุ ในคำมีอาทิว่า อารพฺภ-
ธาตุ.
ความเพียรมีกำลังแรงกว่านั้น เพราะออกจากความเกียจคร้าน
ได้ ชื่อว่า นิกกมธาตุ ความเพียรที่แรงกว่านั้น เพราะก้าวไปยังฐาน
ข้างหน้า ๆ ชื่อว่า ปรักกมธาตุ. แต่ในอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า
ความเพียรเริ่มแรก เพื่อบรรเทากาม 1 การก้าวออกเพื่อกำจัดกิเลส
ดุจลิ่ม 1 ความบากบั่น เพื่อตัดกิเลสดุจเครื่องผูก 1 แล้วกล่าวว่า
เรากล่าวว่า ความเพียรมีประมาณยิ่งกว่าทั้ง 3 อย่างแม้นั้น.

บทว่า อารทฺธวิริยสฺส ได้แก่ผู้มีความเพียรที่บริบูรณ์ และมี
ความเพียรที่ประคองไว้ ในสองอย่างนั้น ความเพียรที่ปราศจาก
โทษ 4 อย่าง พึงทราบว่า ความเพียรที่เริ่มแล้ว แต่ไม่ใช่ที่ย่อหย่อน
เกินไป ไม่ใช่ที่ประคองเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ความเพียรที่หดหู่ในภายใน
และไม่ใช่ความเพียรที่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ความเพียรนี้นั้น มี 2 อย่าง
คือความเพียรทางกาย 1 ความเพียรทางใจ 1

ในสองอย่างนั้น พึงทราบความเพียรทางกายของภิกษุ
ผู้พากเพียรพยายามทางกาย ตลอด 5 ส่วน ของกลางคืนและ
กลางวันอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อมชำระจิตเสียจาก
ธรรมที่พึงกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดวัน. พึงทราบความ
เพียงทางจิตของภิกษุผู้พากเพียรพยายามผูกใจ ด้วยการกำหนด